• Home
  • บทนำ
  • วิจัยและพัฒนา
    • ค่าใช้จ่าย >
      • จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
      • จำแนกตามอายุการประกอบการ
      • จำแนกตามสถานะการถือหุ้น
      • จำแนกตามยอดขาย/รายได้จากการบริการ
      • จำแนกตามรายได้จากการส่งออก
      • จำแนกตามประเภทกิจกรรม
      • จำแนกตามจำนวนพนักงาน
      • จำแนกตามแหล่งที่มาของเงินทุน
      • จำแนกตามวัตถุประสงค์
      • จำแนกตามประเภทของค่าใช้จ่าย
      • จำแนกตามประเภทของการวิจัยและพัฒนา
      • จำแนกตามสาขากิจกรรม
      • จำแนกตามหน่วยดำเนินการ
      • จำแนกตามการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก
      • เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายปี 2542-2558
      • ผู้ประกอบการที่มีกิจกรรมเทคโนโลยี
      • ผู้ประกอบการในสาขาเทคโนโลยี
      • ปัจจัยการผลิตภายในประเทศต่อรายได้
    • บุคลากร >
      • เทียบเป็นการทำงานเต็มเวลา (Full Time Equivalent: FTE)
      • บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว
      • เปรียบเทียบจำนวนบุคลากรปี 2544-2558
      • จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
  • ความเชื่อมโยงภายนอก
    • ความสำคัญของปัจจัยภายนอก
    • ความสำคัญของแหล่งข้อมูล
    • ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
    • สาเหตุหลักของความร่วมมือ
    • อุปสรรคต่อการดำเนินการวิจัยและพัฒนา
    • การใช้กลไกเพื่อการคุ้มครองผลผลิต
    • ความร่วมมือกับสถาบันของรัฐ
    • ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
    • การใช้บริการสนับสนุนจากภาครัฐ
    • ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ
    • การสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ
  • บทสรุป
  • ภาคผนวก
    • การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
    • อภิธานคำศัพท์
  • ดาวน์โหลดเอกสาร
รายงานผลการสำรวจการวิจัยและพัฒนา
ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยประจำปี 2559

2.2.2       บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว (Headcount)

เมื่อพิจารณาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว พบว่าในปี ในปี 2558 ภาคอุตสาหกรรมไทยมีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวเพิ่มขึ้นจาก 42,247 คน ในปี 2557 เป็น 58,744 คน ในปี 2558 ในจำนวนนี้ประกอบด้วยนักวิจัย (โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 30,029 คน ในปี 2557 เป็น 35,465 คน ในปี 2558) ช่างเทคนิค (โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 9,259 คน ในปี 2557 เป็น 12,108 คน ในปี 2558) ผู้ทำงานสนับสนุน (โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 1,755 คน ในปี 2557 เป็น 2,669 คน ในปี 2558) และกลุ่มไม่ระบุจำนวน (โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 1,203 คน ในปี 2557 เป็น 8,502 คน ในปี 2558) ตามลำดับ ดังรายละเอียดในรูปที่ 44
รูปที่ 44       จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว ในภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2544-2558
Picture
เมื่อพิจารณาร้อยละของบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว พบว่านักวิจัยมีจำนวนลดลงจากร้อยละ 71.08 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 60.37 ในปี 2558 ส่วนช่างเทคนิคมีจำนวนลดลงจากร้อยละ 21.92 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 20.61 ในปี 2558 และผู้ทำงานสนับสนุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.15 ในปี 2557 เป็นร้อยละ 4.54 ในปี 2558 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สอดคล้องกับผลการสำรวจในช่วงปี 2544-2557 คือ มีสัดส่วนของจำนวนนักวิจัยสูงสุด รองลงมาเป็นช่างเทคนิค และผู้ทำงานสนับสนุน ตามลำดับ ดังรายละเอียดตารางที่ 18
ตารางที่ 18       ร้อยละบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2544-2558
Picture
(1) บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
เมื่อพิจารณาจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้น อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวมากที่สุด โดยมีจำนวน 6,493 คน (ร้อยละ 15.86) รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมยางและพลาสติก โดยมีจำนวน 5,990 คน (ร้อยละ 14.63) และอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีจำนวน 4,854 คน (ร้อยละ 11.86) ตามลำดับ ดังรายละเอียดในตารางที่ 19
ตารางที่ 19 จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ปี 2558
Picture
ภาคอุตสาหกรรมการบริการ
เมื่อพิจารณาจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการบริการนั้น อุตสาหกรรมการศึกษาเป็นอุตสาหกรรมที่มีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวมากที่สุด โดยมีจำนวน 4,668 คน (ร้อยละ 29.21) รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมบริการด้านธุรกิจอื่นๆ โดยมีจำนวน 4,459 คน (ร้อยละ 27.90) และอุตสาหกรรมวิจัยและพัฒนา โดยมีจำนวน 2,158 คน (ร้อยละ 13.50) ตามลำดับ ดังรายละเอียดในตารางที่ 20​
ตารางที่ 20  จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมการบริการ ปี 2558
Picture
ภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีก
เมื่อพิจารณาจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีกนั้น อุตสาหกรรมธุรกิจค้าส่ง/ตัวแทนจำหน่าย เป็นอุตสาหกรรมที่มีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวมากที่สุด โดยมีจำนวน 1,278 คน (ร้อยละ 69.73) รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมห้าง สะดวกซื้อ ของชำ โดยมีจำนวน 331 คน (ร้อยละ 18.06) และอุตสาหกรรมธุรกิจค้าส่ง/ปลีกยานยนต์และอุปกรณ์ โดยมีจำนวน 224 คน (ร้อยละ 12.21) ตามลำดับ ดังรายละเอียดในตารางที่ 21
ตารางที่ 21          จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีก ปี 2558
Picture
(2) บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว จำแนกตามตำแหน่ง
ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
เมื่อพิจารณาจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว จำแนกตามตำแหน่ง ในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้น นักวิจัยเป็นตำแหน่งที่มีสัดส่วนมากสุด (ร้อยละ 56.36) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยางและพลาสติก (ร้อยละ 11.29) รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (ร้อยละ 8.87) และอุตสาหกรรมเคมี (ร้อยละ 7.24) ในขณะที่อุตสาหกรรมยาสูบมีสัดส่วนนักวิจัยน้อยสุด (ร้อยละ 0.02) ดังรายละเอียดในตารางที่ 22
ตารางที่ 22 จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ปี 2558 จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
Picture
ภาคอุตสาหกรรมการบริการ
เมื่อพิจารณาจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว จำแนกตามตำแหน่ง ในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการบริการนั้น นักวิจัยเป็นตำแหน่งที่มีสัดส่วนมากสุด (ร้อยละ 69.27) ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมการศึกษา (ร้อยละ 27.35) รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมบริการด้านธุรกิจอื่นๆ (ร้อยละ 17.75) และอุตสาหกรรมวิจัยและพัฒนา (ร้อยละ 7.39) ตามลำดับ ในขณะที่อุตสาหกรรมการขนส่งทางบก มีสัดส่วนนักวิจัยน้อยสุด (ร้อยละ 0.05) ดังรายละเอียดในตารางที่ 23
ตารางที่ 23  จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมการบริการปี 2558 จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
Picture
ภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีก
เมื่อพิจารณาจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว จำแนกตามตำแหน่ง ในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีกนั้น นักวิจัยเป็นตำแหน่งที่มีสัดส่วนมากสุด (ร้อยละ 72.40) ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมธุรกิจค้าส่ง/ตัวแทนจำหน่าย (ร้อยละ 48.87) รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมห้าง สะดวกซื้อ ของชำ (ร้อยละ 15.44) ในขณะที่อุตสาหกรรมธุรกิจค้าส่ง/ปลีกยานยนต์และอุปกรณ์ มีสัดส่วนนักวิจัยน้อยสุด (ร้อยละ 8.08) ดังรายละเอียดในตารางที่ 24
ตารางที่ 24  จำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัวในภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีก ปี 2558 จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
Picture
ย้อนกลับ
ถัดไป
Powered by Create your own unique website with customizable templates.