• Home
  • บทนำ
  • วิจัยและพัฒนา
    • ค่าใช้จ่าย >
      • จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
      • จำแนกตามอายุการประกอบการ
      • จำแนกตามสถานะการถือหุ้น
      • จำแนกตามยอดขาย/รายได้จากการบริการ
      • จำแนกตามรายได้จากการส่งออก
      • จำแนกตามประเภทกิจกรรม
      • จำแนกตามจำนวนพนักงาน
      • จำแนกตามแหล่งที่มาของเงินทุน
      • จำแนกตามวัตถุประสงค์
      • จำแนกตามประเภทของค่าใช้จ่าย
      • จำแนกตามประเภทของการวิจัยและพัฒนา
      • จำแนกตามสาขากิจกรรม
      • จำแนกตามหน่วยดำเนินการ
      • จำแนกตามการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก
      • เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายปี 2542-2558
      • ผู้ประกอบการที่มีกิจกรรมเทคโนโลยี
      • ผู้ประกอบการในสาขาเทคโนโลยี
      • ปัจจัยการผลิตภายในประเทศต่อรายได้
    • บุคลากร >
      • เทียบเป็นการทำงานเต็มเวลา (Full Time Equivalent: FTE)
      • บุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาแบบรายหัว
      • เปรียบเทียบจำนวนบุคลากรปี 2544-2558
      • จำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม
  • ความเชื่อมโยงภายนอก
    • ความสำคัญของปัจจัยภายนอก
    • ความสำคัญของแหล่งข้อมูล
    • ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
    • สาเหตุหลักของความร่วมมือ
    • อุปสรรคต่อการดำเนินการวิจัยและพัฒนา
    • การใช้กลไกเพื่อการคุ้มครองผลผลิต
    • ความร่วมมือกับสถาบันของรัฐ
    • ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย
    • การใช้บริการสนับสนุนจากภาครัฐ
    • ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ
    • การสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ
  • บทสรุป
  • ภาคผนวก
    • การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
    • อภิธานคำศัพท์
  • ดาวน์โหลดเอกสาร
รายงานผลการสำรวจการวิจัยและพัฒนา
ในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยประจำปี 2559

2.1.7     ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา จำแนกตามจำนวนพนักงาน

เมื่อจำแนกค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาตามจำนวนพนักงานในปี 2558 พบว่าในภาคอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 600 คนเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุด (34,949 ล้านบาท, 669 กิจการ) รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 101-200 คน (3,955 ล้านบาท, 922 กิจการ) และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 1-100 คน (2,412 ล้านบาท, 1,176 กิจการ) ตามลำดับ
 
ในภาคอุตสาหกรรมการบริการ พบว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 1-100 คนเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุด (3,542 ล้านบาท, 719 กิจการ) รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 201-400 คน (3,368 ล้านบาท, 39 กิจการ) และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 600 คน (1,591 ล้านบาท, 160 กิจการ) ตามลำดับ
 
ส่วนในภาคอุตสาหกรรมการค้าส่ง/ค้าปลีก พบว่ากลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 600 คนเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุด (3,217 ล้านบาท, 114 กิจการ) รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 1-100 คน (184 ล้านบาท, 143 กิจการ) และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 201-400 คน (174 ล้านบาท, 25 กิจการ) ตามลำดับ ดังรายละเอียดในรูปที่ 20​
รูปที่ 20       ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาและจำนวนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมไทยปี 2558 จำแนกตามจำนวนพนักงาน
Picture
เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยภาพรวมด้านการวิจัยและพัฒนาตามจำนวนพนักงานในภาคอุตสาหกรรมไทย พบว่าในปี 2558 กลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า 600 คนเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนามากที่สุด (39,756 ล้านบาท, 943 กิจการ) รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 1-100 คน (6,138 ล้านบาท, 2,037 กิจการ) และกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 201-400 คน (5,843 ล้านบาท, 831 กิจการ) ตามลำดับ ดังรายละเอียดในรูปที่ 21
รูปที่ 21       ค่าใช้จ่ายโดยภาพรวมด้านการวิจัยและพัฒนาและจำนวนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมไทยปี 2558 จำแนกตามจำนวนพนักงาน
Picture
ย้อนกลับ
ถัดไป
Powered by Create your own unique website with customizable templates.